พหุปัญญา
ศาสตราจารย์โฮเวิร์ด การ์ดเนอร์ เขียนไว้ในหนังสือ Frames of Mind ซึ่งตีพิมพ์เมื่อปี พ.ศ. 2526 ว่าปัญญาของ มนุษย์หรือความเก่งของมนุษย์มีอยู่ 7 ด้าน และในปี พ.ศ. 2538 ได้เพิ่มเป็น 8 ด้าน เรียกว่าพหุปัญญา 8 ประการ ได้แก่
1. ปัญญาด้านภาษา หมายถึง ความสามารถในการคิดเป็นภาษาพูดและการใช้ภาษาเพื่อแสดงออก และมีความชื่นชอบใน ความหมายที่สลับซับซ้อนของภาษา
กิจกรรมเพื่อพัฒนาปัญญาด้านภาษา เช่น การใช้สัญลักษณ์ การอ่านแผ่นพิมพ์คอทพิวเตอร์ การโต้วาที การประพันธ์ การเล่า เรื่องขำขัน การกล่าวสุนทรพจน์ การอ่าน การเล่าเรื่อง การฟัง การฟังเทป การเขียนเรียงความ การเขียนรายงาน การเล่มเกมอักษรไขว้ การอ่านนิทาน/นิยาย การอ่านหนังสือสารคดี การอ่านหนังสือพิมพ์ การอ่านวารสาร การใช้อินเตอร์เนต การวิจัย การอ่านหนังสือทั่วไป การอ่านอัตชีวประวัติ และการทำบรรณานุกรม เป็นต้น
2. ปัญญาด้านตรรกะและคณิตศาสตร์ ปัญญาด้านนี้ช่วยให้สามารถคิดตัวเลข คิดปริมาณ พิจารณาข้อสันนิษฐานและสมมติฐานต่าง ๆ และสามารถทำโจทย์คณิตศาสตร์ที่สลับซับซ้อนได้
กิจกรรมเพื่อพัฒนาปัญญาด้านตรรกะและคณิตศาสตร์ เช่น การทายปัญหา การทำเค้าโครงเรื่องย่อ การจัดลำดับเหตุการณ์ การสร้างภาพ/ลวดลายต่าง ๆ การหาเหตุและผล การหาข้อแตกต่าง การแก้สมการ การคิดคำนวณ การเล่นเกม และการคิดเลขเศษส่วน เป็นต้น
3. ปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ ช่วยปลูกฝังความสามารถในการคิดเป็นสามมิติ(กว้าง ไกล และลึก) สามารถสร้างภาพ เปลี่ยนภาพหรือ ปรับภาพได้ ทำให้สามารถพาตนเองและวัตถุต่าง ๆ ผ่านไปในระยะทางหรือที่ว่างได้ และสามารถสร้างหรือถอดรหัสหรือแปลความ ข้อมูลข่าวสารที่อยู่ในรูปของงานขีดเขียน(งานกราฟฟิก)ได้
กิจกรรมเพื่อพัฒนาปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ เช่น การเขียนภาพ การวาดภาพ การเขียนการ์ตูน การแกะสลัก การต่อภาพ การเขียน แผนที่ การทำป้ายนิเทศเรื่องราว การดูวีดิทัศน์ การใช้สัญลักษณ์ การใช้ภาพโปสเตอร์ การดูและศึกษาภาพจิตรกรรมฝาผนัง การทำตุ๊กตาล้มลุก การสร้างรูปจำลอง การปะภาพกระดาษ การสเกตซ์ภาพ การทำโมบายล์ เป็นต้น
4. ปัญญาด้านการเคลื่อนไหวร่างกาย ช่วยให้การจับต้อง หรือจัดการกับวัตถ ุและทักษะต่าง ๆ ทางกายภาพที่ละเอียดอ่อนได้
กิจกรรมเพื่อพัฒนาปัญญาด้านการเคลื่อนไหวร่างกาย เช่น การแสดงบทบาทสมมติ การแสดงละคร การใช้ภาษาท่าทาง การเต้นรำ/การฟ้อนรำ การแสดงละครใบ้ การทัศนศึกษา การทำงานในห้องทดลอง การสัมภาษณ์ การเล่นกีฬา การเล่นเกม การแสดงออกบนใบหน้า เป็นต้น
5. ปัญญาด้านดนตรี ช่วยให้มีความรู้สึกไวเกี่ยวกับเสียงสูงต่ำ ทำนองเพลง จังหวะดนตรี และน้ำเสียง
กิจกรรมเพื่อพัฒนาปัญญาด้านดนตรี เช่น การแสดงบนเวที การร้องเพลง การเล่นดนตรี การใช้เครื่องดนตรี การรู้จังหวะดนตรี การแต่งเพลง การร้องเพลงประสานเสียง การเล่นดนตรีเครื่องสาย การเล่นดนตรีสากลสอง/สาม/สี่ชิ้น การทำจังหวะ การเต้นแร็พ การเต้นตามจังหวะเพลง การอ่านเพลงสวด การสวดมนต์ การอ่านทำนองเสนาะ เป็นต้น
6. ปัญญาด้านรู้ผู้อื่น หมายถึง ความสามารถในการเข้าใจผู้อื่น และการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ดี
กิจกรรมเพื่อพัฒนาปัญญาด้านรู้ผู้อื่น เช่น การทำโครงงานเป็นกลุ่ม การทำงานกลุ่ม การทำแผนภูมิ การสังเกต การปฏิสังสรรค์ การสนทนาสองคน การสนทนาหลายคน การโต้วาที การสื่อสาร การปะภาพกระดาษ การวาดจิตรกรรมฝาผนัง การเล่นกีฬา การเล่นเกม เป็นต้น
7. ปัญญาด้านรู้ตนเอง หมายถึง ความสามารถในการรู้จักตนเอง หรือความสามารถในการสร้างและรับรู้ตนเองอย่างถูกต้อง และใช้ ความรู้นี้ในการวางแผนและชี้นำชีวิตตนเอง
กิจกรรมเพื่อพัฒนาปัญญาด้านรู้ตนเอง เช่น การอ่านวารสาร การนั่งสมาธิ/วิปัสสนา การประเมินตนเอง การบันทึก การคิดทบทวน การคัดลอกข้อความ/คำคม/คำกล่าวเกี่ยวกับตนเอง การเขียนคำประพันธ์ การแปลความ การคิดฉับพลัน การสร้างกรอบ ความคิด การวางเป้าหมาย เป็นต้น
8. ปัญญาด้านรอบรู้ธรรมชาติ หมายถึง ความสามารถในการสังเกตรูปแบบการเป็นอยู่ของธรรมชาติ สามารถกำหนดและจัดหมวดหมู่ สิ่งต่าง ๆ และเข้าใจระบบที่เป็นธรรมชาติ และระบบที่มนุษย์ทำขึ้น
กิจกรรมเพื่อพัฒนาปัญญาด้านรอบรู้ธรรมชาติ เช่น การทัศนศึกษา(ไปชมสวนสัตว์ ฟาร์ม และไร่นา) การศึกษาภาคสนาม การดูนก การดูรังนก การปลูกต้นไม้ การถ่ายรูป การเดินชมธรรมชาติ(การเดินป่า) การพยากรณ์อากาศ การดูดาว การตกปลา การสำรวจถ้ำ การแยกประเภทก้อนหิน การศึกษาระบบนิเวศ การจับผีเสื้อ การเก็บเปลือกหอย การศึกษาพืชและต้นไม้ต่าง ๆ เป็นต้น
สมองมีความฉลาด 8 อย่าง (Multiple Intelligence)
โดยพญ. โสภา เกริกไกรกุล ; (Neurologist)
เด็กๆ จะมีความฉลาดหลายด้านไม่ใช่เฉพาะรู้หนังสืออย่างเดียวเพื่อให้ครู พ่อ แม่ เด็ก เพื่อน ผู้ร่วมงาน รู้ว่าเด็กมีความสามารถอื่นๆ ได้อีก ได้แก่
word smart (เก่งทางคำพูด ภาษา) เป็นความสามารถในการใช้คำอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การเขียน การพูด การชักจูง ความจำ การอธิบาย เล่านิทาน เล่าโจ๊ก ความรู้สึก โต้เถียง การให้เหตุผล การเขียนสรุป รายงาน ชักชวน
สามารถพบได้จาก นักแต่งบทกวี นักเขียนบทละคร นักปกครอง นักพูด นักการเมือง บรรณาธิการ นักเขียนสุนทรพจน์ คนเล่านิทาน
สามารถพบได้จาก นักแต่งบทกวี นักเขียนบทละคร นักปกครอง นักพูด นักการเมือง บรรณาธิการ นักเขียนสุนทรพจน์ คนเล่านิทาน
มักจะมีบุคลิกภาพดังนี้ มีความสารถในการจัดระเบียบแบบแผน เป็นคนมีระเบียบ ระบบ สามารถให้เหตุผล เป็นนักฟัง นักอ่าน นักเขียน สามารถสะกดคำได้ง่าย ชอบเล่นเกมต่อคำ ช่างจำเรื่องเล็กๆน้อยๆ อาจจะเป็นนักพูดในที่สาธารณะ อาจจะเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านภาษา ทางด้านการเขียนหรือการพูด
การฝึกฝน หัดเล่าเรื่องต่างๆเล่นเกมที่เกี่ยวกับชื่อสถานที่ หัดอ่านเขียนเรื่องราวต่างๆ หรือเรื่องขบขัน เล่นเกมทำท่าเลียนแบบคำศัพท์ หัดเขียนบทความลงในวารสาร สัมภาษณ์ เล่นเกมปริศนา หรือเกมสะกดคำ หัดฝึกทำกิจกรรมที่ผสมผสานระหว่าง การเขียนและการอ่าน ในหัวข้อต่างๆหัดเป็นบรรณาธิการหรือเป็นที่ปรึกษา และผลิตวารสารในชั้นเรียน หัดโต้วาที วิจารณ์เรื่องราวต่างๆ หรือหัดเล่นเกมคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับคำศัพท์ต่างๆ
logical/mathematical (ทางด้านคณิตศาสตร์และตรรกวิทยา) การเรียนรู้เกิดขึ้นเมื่อมีการแก้ปัญหา การทำงานกับตัวเลข การทดลอง การสังเคราะห์ความคิด สำรวจ การคำนวณ เรียงลำดับเวลา ลำดับเหตุการณ์ การใช้เหตุผล เปรียบเทียบ ลำดับความคิด การตั้งสมมติฐาน ได้แก่ พวกนักวิทยาศาสตร์ นักคณิตศาสตร์ วิศวกร นักสะกดรอยตามสัตว์ ตำรวจนักสืบ นักกฎหมาย นักบัญชี ฯลฯ
มักจะมีบุคลิกภาพดังนี้ ชอบคิดในเรื่องนามธรรม ชอบวิจารณ์ ชอบสนุกสนานในการนับของ ชอบทำงานเป็นระบบ สนุกสนานกับการใช้คอมพิวเตอร์ สนุกสนานกับการแก้ไขปัญหา
มักจะมีบุคลิกภาพดังนี้ ชอบคิดในเรื่องนามธรรม ชอบวิจารณ์ ชอบสนุกสนานในการนับของ ชอบทำงานเป็นระบบ สนุกสนานกับการใช้คอมพิวเตอร์ สนุกสนานกับการแก้ไขปัญหา
การฝึกฝนให้มีลักษณะทางด้านนี้ กระตุ้นให้หัดแก้ไขปัญหา ให้เล่นเกมคณิตศาสตร์จากเครื่องคอมพิวเตอร์ หัดแปลและวิเคราะห์ข้อมูล หัดให้เหตุผล กระตุ้นตนเองให้มีความกล้า กระตุ้นให้หัดทำการทดลอง หัดคาดคะเน หัดให้ทำงานผสมผสานระหว่างคณิตศาสตร์กับการจัดระบบในหัวข้อต่างๆ หัดจัดสถานที่ หัดทำงานอย่างเป็นขั้นเป็นตอน หัดคิดโดยการนำข้อมูลต่างๆมารวบรวมก่อน สรุปผล หัดใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เกี่ยวกับการคำนวณ การทำตารางต่างๆ
Spatial ทางด้านการมองภาพรวม (มิติสัมพันธ์) สามารถพบได้จาก สถาปนิก ช่างทาสี ช่างปั้น นักเล่นหมากรุก นักนิยมไพร นักฟิสิกส์ ผู้วางยุทธศาสตร์การรบ นักบริหาร
มักจะมีบุคลิกภาพดังนี้ สามารถจินตนาการและความรู้สึกออกมาเป็นการแสดง รูปภาพ หรือภาพพจน์ได้ มักใช้คำอุปมาอุปไมย ชอบงานศิลปะ วาดภาพ ระบายสี ปั้นหรือแกะสลัก มีทัษะในการอ่านแผนที่ แผนภูมิ จำเรื่องราวต่างๆเป็นภาพได้ มีทักษะในการใช้สี
มักจะมีบุคลิกภาพดังนี้ สามารถจินตนาการและความรู้สึกออกมาเป็นการแสดง รูปภาพ หรือภาพพจน์ได้ มักใช้คำอุปมาอุปไมย ชอบงานศิลปะ วาดภาพ ระบายสี ปั้นหรือแกะสลัก มีทัษะในการอ่านแผนที่ แผนภูมิ จำเรื่องราวต่างๆเป็นภาพได้ มีทักษะในการใช้สี
วิธีการที่จะฝึกฝนให้มีลักษณะทางด้านนี้ ใช้การเรียนด้วยภาพ หัดให้สร้างสัญลักษณ์หรือภาพ หัดให้วาดแผนที่ แผนภูมิ หัดให้ทำงานผสมผสาน ระหว่างงานทางศิลปะกับวิชาต่างๆ หัดวาดแผนที่ในใจ หัดทำกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับการเห็น ทัศนศึกษาหรือสร้างภาพด้วยตนเอง หัดการเรียนรู้โดยใช้การกระตุ้นจากสิ่งรอบข้าง หัดเล่นละครที่ใช้ท่าทาง มีการเปลี่ยนแปลง จัดห้องใหม่ๆ เพื่อให้มีการฝึกความรับรู้แบบต่างๆ หัดให้ใช้เครื่องมือที่ทันสมัยในการจัดระบบหรือสร้างแผนภูมิ หัดจัดกลุ่มต่างๆ ระบายสีเพื่อเน้นข้อความ หัดใช้คอมพิวเตอร์ในการวาดภาพ
Music เก่งทางดนตรี การเขียนบทเพลง การร้องเพลง สร้างการฟังจังหวะเพลง ความสามารถในการรับรู้และแสดงออกของดนตรี
มักพบได้จาก นักแต่งเพลง นักแสดง ผู้ควบคุมวงดนตรี ช่างปรับระดับเปียโน
มักพบได้จาก นักแต่งเพลง นักแสดง ผู้ควบคุมวงดนตรี ช่างปรับระดับเปียโน
มีบุคลิกภาพดังนี้ มีทักษะในเรื่องของจังหวะ ระดับเสียง มีทักษะพิเศษในการรับรู้ถึงพลัง ความซับซ้อน และระดับของเสียงดนตรี เป็นผู้ที่รับรู้สิ่งลึกลับได้
วิธีการที่จะฝึกให้มีทักษะทางด้านนี้ หัดให้เล่นดนตรี ใช้การร้องเพลงเข้ามาประกอบในบทเรียน หรืออาจจะเป็นคอนเสริต์ก็ได้ ทำงานเกี่ยวกับดนตรี ร่วมร้องเพลงในที่ต่างๆ หัดแต่งเพลง ผสมผสานการเรียนโดยใช้ดนตรีกับวิชาอื่นๆ จินตนาการหรือวาดภาพโดยการใช้เสียงดนตรี การอ่านบทกวีโดยใช้จังหวะเสียงดนตรีต่างๆกัน แต่งเพลงด้วยคอมพิวเตอร์
Kinesthetic เก่งและเรียนรู้เกิดขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหว การเต้นรำ การกีฬา การแสดงบทบาทต้างๆ การทัศนศึกษา ความสามารถในการแสดงออกต่างๆ ฟังความคิด ความรู้สึก กิริยาอาการ เช่น นักกีฬา นักเต้นรำ นักแสดง นักกีฬา นักประดิษฐ์ ช่างกล คนจัดเวลา
มีลักษณะพิเศษดังนี้ สามารถควบคุมร่างกายได้ โดยเฉพาะอวัยวะที่คนอื่นทำไม่ได้ เช่นใบหู มีลักษณะในการเรียนรู้การเคลื่อนไหวร่างกายและตอบโต้ได้ดี ชอบเล่นกีฬา มีทักษะในงานฝีมือ ชอบแสดง ชอบทำงานหัตถกรรมต่างๆ ชอบเรียนรู้โดยการมีส่วนร่วมในงานนั้นๆ จำเรื่องราวต่างๆได้ดี โดยการร่วมในกิจกรรมมากกว่าจากการบอกเล่า หรือแค่สังเกต มีความรู้สึกไวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม
มีลักษณะพิเศษดังนี้ สามารถควบคุมร่างกายได้ โดยเฉพาะอวัยวะที่คนอื่นทำไม่ได้ เช่นใบหู มีลักษณะในการเรียนรู้การเคลื่อนไหวร่างกายและตอบโต้ได้ดี ชอบเล่นกีฬา มีทักษะในงานฝีมือ ชอบแสดง ชอบทำงานหัตถกรรมต่างๆ ชอบเรียนรู้โดยการมีส่วนร่วมในงานนั้นๆ จำเรื่องราวต่างๆได้ดี โดยการร่วมในกิจกรรมมากกว่าจากการบอกเล่า หรือแค่สังเกต มีความรู้สึกไวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม
Interpersonal ทางด้านปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่นหรือทางด้านสังคม เก่งทางมนุษยสัมพันธ์ เรียนรู้เกิดขึ้นเมื่อมีการทำงานร่วมกับคนอื่น การสัมภาษณ์ การถกเถียงกันในกลุ่ม การวางแผน สำรวจการให้วิจารณ์ การสอน การระดมสมอง การวิเคราะห์ตนเอง ความสามารถในการสังเกต ความแตกต่างของแต่ละบุคคล เช่น อารมณ์ ความสนใจ เข้าในอารมณ์ของผู้อื่นได้ดี มีเพื่อนมาก ชอบกิจกรรมกลุ่ม
มักพบได้จาก นักรัฐศาสตร์ ครู ผู้นำทางศาสนา ผู้นำทางการเมือง ที่ปรึกษา คนขายของ ผู้จัดการ นักสังคม
มักพบได้จาก นักรัฐศาสตร์ ครู ผู้นำทางศาสนา ผู้นำทางการเมือง ที่ปรึกษา คนขายของ ผู้จัดการ นักสังคม
มักจะมีบุคลิกภาพดังนี้ มีความคิดริเริ่มดี เข้ากับผู้อื่นได้ดี สามารถอ่านความนึกคิดของผู้อื่นได้ สนุกสนานกับการได้อยู่กับบุคคลอื่น มีเพื่อนมาก สื่อสารและปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่นได้ด้วย สนุกสนานกับการทำกิจกรรมกลุ่ม ชอบทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการโต้วาที ชอบทำงานร่วมกับผู้อื่น เรียนรู้สังคมได้เก่ง
วิธีที่จะทำให้มีลักษณะทางด้านนี้ หัดทำให้กิจกรรมกลุ่มสันทนาการ แบ่งปันกัน ฝึกทักษะด้านการติดต่อและการสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่น สนทนากัน หัดให้จัดงานรื่นเริงเพื่อฉลองการเรียน หัดสำรวจผู้อื่น โดยใช้กิจกรรมทางสังคม กับบทเรียนในวิชาต่างๆ พูดคุยกันเพื่อตอบคำถามที่ตั้งไว้ เรียนรู้โดยการให้การบริการผู้อื่น หัดให้แนะนำสั่งสอนผู้อื่น หัดให้ใช้เหตุผล
Intra personal ทางด้านรู้จักตนเอง เรียนรู้เมื่อมีการวิจัย เขียนบันทึกประจำวัน ความสามารถแก้ปัญหาด้วยตนเอง ค้นหาคำตอบภายในตนเอง ความสามารถเข้าใจความรู้สึก และพฤติกรรมของตน
มีบุคลิกภาพดังนี้ รู้จักตนเอง รู้จักคุณค่าของตน รับรู้ความรู้สึกผู้อื่นได้ดี มีเป้าหมายของชีวิต มีการพัฒนารับรู้ตนเองได้ดี รู้จักกระตือรือร้น รู้ถึงจุดอ่อน และจุดแข็งของตนเอง ชอบสันโดษ ต้องการที่จะเป็นตัวของตัวเอง
มีบุคลิกภาพดังนี้ รู้จักตนเอง รู้จักคุณค่าของตน รับรู้ความรู้สึกผู้อื่นได้ดี มีเป้าหมายของชีวิต มีการพัฒนารับรู้ตนเองได้ดี รู้จักกระตือรือร้น รู้ถึงจุดอ่อน และจุดแข็งของตนเอง ชอบสันโดษ ต้องการที่จะเป็นตัวของตัวเอง
มักพบได้จาก นักเขียนนวนิยาย ที่ปรึกษา ผู้สูงอายุที่มีความฉลาด นักปรัชญา บุคคลที่สามารถรับรู้ความรู้สึกตนเองได้ดี นักจิตวิทยา ผู้นำศาสนา
วิธีที่จะฝึกฝนให้มีลักษณะทางด้านนี้ ฝึกให้พูดจากความรู้สึกในใจของตนเอง สำรวจตนเองทั้งความรู้สึก อารมณ์ และความคิด ทำกิจกรรมที่จะพัฒนาตนเอง หัดทำบันทึกย่อๆ เกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆ แลกเปลี่ยนและแสดงความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ฝึกให้ฟังและคิด ใช้เวลาเพื่อแสดงความรู้สึกตนเอง วิจารณ์หรือเขียนแสดงถึงประสบการณ์ และความรู้สึกของตนเอง เรียนรู้ที่จะควบคุมตนเอง สอนให้เชื่อมั่นในตนเอง สอนให้หัดตั้งคำถาม
Naturalist (สิ่งแวดล้อมทั้งคน และธรรมชาติ) เรียนรู้จากสิ่งแวดล้อม ปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ สังเกตความแตกต่าง ได้แก่ นักชีววิทยา นักสิ่งแวดล้อม
เพราะฉะนั้น เด็กไม่จำเป็นจะต้องเก่งแต่เลข หรือภาษา แต่จะเป็นทางกีฬา ดนตรี ฯลฯ ซึ่งเราสามารถส่งเสริมเขาได้ตามความถนัดและความสนใจของเด็ก ไม่จำเป็นที่จะต้องเคี่ยวเข็ญ ในสิ่งที่เขาไม่ชอบหรือทำไม่ได้ อย่าบังคับเคี่ยวเข็ญมากเกินไปในสิ่งที่เด็กไม่อยากทำเด็ดขาด เพราะจะเป็นการผลักดันให้เด็กฆ่าตัวตาย หรือเป็นโรคประสาท หรือหันเข้าหายาเสพติดมากขึ้น เพราะมีผู้ใหญ่ไม่เข้าใจในตัวเด็ก ต้องคุยและฟังกันด้วยเหตุผล มีเหตุการณ์เกิดขึ้นมาแล้วบ่อยๆครั้ง ท่านลองสังเกตหรือติตามข่าวดู ซึ่งจากการวิจัยพบว่า เด็กวัยรุ่นฆ่าตัวตายอันดับสองรองจากวัยทำงาน และหันเข้าหายาเสพติดมากขึ้น สาเหตุมากสุดคือ จากคำพูดจาที่ทำลายกำลังใจเด็ก ทั้งจากพ่อแม่ ครูบาอาจารย์ และคนใกล้ชิด โดยที่ผู้ใหญ่ไม่รู้ตัว
เพราะฉะนั้น เด็กไม่จำเป็นจะต้องเก่งแต่เลข หรือภาษา แต่จะเป็นทางกีฬา ดนตรี ฯลฯ ซึ่งเราสามารถส่งเสริมเขาได้ตามความถนัดและความสนใจของเด็ก ไม่จำเป็นที่จะต้องเคี่ยวเข็ญ ในสิ่งที่เขาไม่ชอบหรือทำไม่ได้ อย่าบังคับเคี่ยวเข็ญมากเกินไปในสิ่งที่เด็กไม่อยากทำเด็ดขาด เพราะจะเป็นการผลักดันให้เด็กฆ่าตัวตาย หรือเป็นโรคประสาท หรือหันเข้าหายาเสพติดมากขึ้น เพราะมีผู้ใหญ่ไม่เข้าใจในตัวเด็ก ต้องคุยและฟังกันด้วยเหตุผล มีเหตุการณ์เกิดขึ้นมาแล้วบ่อยๆครั้ง ท่านลองสังเกตหรือติตามข่าวดู ซึ่งจากการวิจัยพบว่า เด็กวัยรุ่นฆ่าตัวตายอันดับสองรองจากวัยทำงาน และหันเข้าหายาเสพติดมากขึ้น สาเหตุมากสุดคือ จากคำพูดจาที่ทำลายกำลังใจเด็ก ทั้งจากพ่อแม่ ครูบาอาจารย์ และคนใกล้ชิด โดยที่ผู้ใหญ่ไม่รู้ตัว
นักทำนายอนาคต (Futurist) จึงได้กล่าวไว้ว่า ปัจจุบันข้อมูลต่างๆ มีมากมายและเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ การเรียนรู้ทุกอย่างเป็นไปไม่ได้ สิ่งที่สำคัญที่สุดในการเรียนการสอนคือ การสอนวิธีการแสวงหาความรู้ที่เด็กสนใจมาได้ และคิดเป็น (Learning how best to learn and how to think) เด็กทุกคนจะรู้ว่าตนเองต้องการสนใจสิ่งใดในช่วงเวลาที่แตกต่างกันของชีวิต และสามารถที่จะค้นคว้าหาความรู้ที่ตนสนใจนั้นได้
Albert Einstein แนะนำว่า จินตนาการสำคัญมากกว่าความฉลาด (Imagination is more important than intelligence)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น